บล็อกนี้ได้จีดทำขึ้นเพื่อการเรียนการสอน วิชาอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารความ

energy

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาพลังงานลมในประเทศไทย


                             เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศความจริงนั้น ประเทศไทยได้เริ่มโครงการพลังงานทดแทนมาตั้งแต่           ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา   โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าร่วมเซลล์แสงอาทิตย์  และกังหันลม   แบบต่อเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า    สถานที่ที่ดำเนินการทดลองอยู่ในบริเวณสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ  ที่เกาะภูเก็ต    ซึ่งมีแรงลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามัน ในช่วงมรสุม  ในระยะแรกทาง กฟผ.  ได้ทดลองติดตั้งกังหันลม  2  ชุด เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน   3  ใบ     แบบแกนหมุนในแนวนอน ความเร็วรอบของกังหันประมาณ   350    รอบต่อนาที   ที่ความเร็วลม 12.1 เมตรต่อวินาที    หรือประมาณ 2,400 ฟุตต่อนาที     ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ   3.1  เมตรต่อวินาที  หรือประมาณ  600  ฟุตต่อนาที   ความสูงของเสากังหันลม  20  เมตร   ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้รวม     20 kW   ประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่  จำนวน 120   ลูก     แต่ละลูกมีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ   2   โวลท์      เพื่อจะได้ขนาดแรงดันไฟฟ้ารวม   240  โวลท์  กระแสตรง     แล้วจึงใช้ชุดเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แบบ  3  เฟส    416 โวลท์   50 Hz  ขนาด 15  kVA  ผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงกับระบบจำหน่ายขนาด  33  kV  3 เฟส โดยติดตั้งแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2536
                กังหันลมอีกชุดหนึ่ง เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน 3 ใบ เป็นแบบแกนหมุนในแนวนอน   ความเร็ว รอบของกังหันประมาณ  38  รอบต่อนาที   ที่ความเร็วลม  13  เมตรต่อวินาที หรือประมาณ  2,660  ฟุตต่อนาที     ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้คือ  4  เมตรต่อวินาที  หรือประมาณ  800  ฟุตต่อนาที   ความสูงของเสากังหันลม 31  เมตร   ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 150  kW  เป็นกังหันลมชนิดติดตั้งกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ  3 เฟส  400 โวลท์   50 Hz  โดยติดตั้งแล้วเสร็จในปี  พ.ศ.2539
             จากการทดลองจ่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลม เข้าสู่ระบบจำหน่าย     พบว่า    ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะมีประโยชน์กับท้องถิ่นบริเวณนั้น    ซึ่งเป็นบริเวณปลายสายส่งโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก    แต่การใช้กังหันลมจะประสบปัญหาในด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะไม่สม่ำเสมอ           เนื่องจากความเร็วและทิศทางของลมไม่แน่นอน อีกทั้งเสาของกังหันลมมี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น