“กังหันลม” พลังงานสู่การจัดการน้ำ (RDG51E0021)
การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ ด้านการเกษตร
กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้ เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือการผลิตกระแสไฟฟ้า การออกแบบกังหันลมจะต้องอาศัยความรู้ด้านพลศาสตร์และหลักวิศวกรรมศาสตร์แขนง ต่างๆ เพื่อให้ได้กำลังงานพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด กังหันลมแบ่งออกตามลักษณะการจัดวางแกนของใบพัดได้ 2 รูปแบบ คือ กังหันลมแนวแกนตั้ง และกังหันลมแนวแกนนอน ชาวบ้านจึงมีผสมผสานแนวคิดเรื่องพลังงานลมมาใช้ในการจัดการน้ำในพื้นที่ สูง ด้วยการสร้างบักปิ่น (กังหันลม) มาต้านกระแสลมเกิดกระแสไฟฟ้าแล้วนำกระแสไฟฟ้านั้นเก็บในแบตเตอรรี่ แล้วจึงนำกระแสไฟฟ้านั้นไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปใช้ในการให้แสงสว่างและปั่นไดนาโม ดึงน้ำจากที่ต่ำไปใช้ในแปลงเกษตรกรรมพื้นที่สูงได้
การ ดำเนินการข้างต้นเป็นผลการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยรูปแบบพลังงานลมเพื่อ จัดการระบบน้ำในแปลงเกษตรกรรมทางเลือกบนพื้นที่สูง มีนายบุญสิน พิลาบุตร เป็นหัวหน้าโครงการ กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของนัก วิจัยท้องถิ่น มีการศึกษาข้อมูลบริบทชุมชน ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะการเคลื่อนที่ของลมในพื้นที่ การคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในการตั้งกังหันลม ศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาการจัดการน้ำขนาดเล็กบนพื้นที่สูงของชุมชน เรียนรู้เทคนิคในการสร้างกังหันลมปั่นไฟ ศึกษาดูงานกลุ่มที่ผลิตพลังงานลมที่ประสบความสำเร็จ และทดลองปฏิบัติการสร้างกังหันเพื่อการจัดการน้ำ ผลการศึกษาพบว่า
บ้าน โนนชาติ หมู่ 4 ต.หลักด่าน อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ มี 79 ครัวเรือน ประชากร ชาย 202 คน หญิง 194 คน รวมทั้งสิ้น 396 คน หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีนิเวศน์เป็นพื้นที่สูงบนภูเขา มีความสูงตั้งแต่ 500 – 900 เมตร ทิศทางของลมจะมีลมพัดมาใน 2 ทิศทาง คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลมพัดผ่าน 7 เดือน คือ เดือน ตุลาคม – เดือนเมษายน ลักษณะของลมส่วนใหญ่จะเป็นลมมรสุม ทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีลมพัดผ่าน 5 เดือน คือ เดือน พฤษภาคม – เดือนกันยายน ลักษณะของลมส่วนใหญ่จะเป็นลมชั้นบนที่เกิดจากความกดอากาศ พื้นที่เหมาะสม ชุมชนบ้านโนนชาติมีพื้นที่ที่เหมาะต่อการติดตั้งพลังงานลม 10 จุด โดยในการศึกษาวิจัยได้ใช้เครื่องวัดลม (แอนิโมมิเตอร์) โดยพบว่าทั้ง 10 จุดข้างต้นมีความเร็วลมมากกว่า 5 เมตร/วินาที นักวิจัยท้องถิ่นได้ทำการลองพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานลม (สร้างปักปิ่นใหญ่) เพื่อนำพลังงานลมมาปรับใช้ในการจัดการน้ำ
บท เรียนการดำเนินงานวิจัยพบว่า การใช้พลังงานจากลมนั้นสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า นำกระแสไฟฟ้านั้นเก็บในแบตเตอรรี่ แล้วจึงนำกระแสไฟฟ้านั้นไปใช้ประโยชน์ โดยนำไปใช้ในการให้แสงสว่างและปั่นไดนาโม ดึงน้ำจากที่ต่ำไปใช้ในแปลงเกษตรกรรมพื้นที่สูงอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการะบบน้ำโดยใช้พลังงานลม ที่ชาวบ้านได้น้ำมาใช้และทดลอง ถือว่าเป็นพลังงานในทางเลือกใหม่ที่จัดการน้ำได้ การจัดการน้ำโดยชุมชน ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น